ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.20 แกว่งแคบ รอดูปัจจัยใหม่สัปดาห์หน้า
InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 36.20 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเมื่อ เช้าที่ระดับ 36.21 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวใน กรอบ 36.17 - 36.27 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่มีกระแสเงินทุนต่างประเทศเข้ามาซื้อพันธบัตรราว 5.8 พันล้านบาท "เงินบาทแกว่งตัวในกรอบแคบๆ คาดว่านักลงทุนรอดูปัจจัยใหม่เข้ามาในสัปดาห์หน้า" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันจันทร์ไว้ที่ 36.10 - 36.35 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้ตลาดรอ ดูตัวเลขดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือน ก.ย.ของสหรัฐ และช่วงกลางสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมธนาคาร กลางสหรัฐฯ (เฟด)
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ 150.00 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 150.31 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ 1.0562 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0557 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,388.23 จุด เพิ่มขึ้น 17.01 จุด, +1.24% มูลค่าการซื้อขาย 41,247.37 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,388.87 ล้านบาท - สศค.ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 66 โดยคาดว่าจะขยายตัวที่ 2.7% (ช่วงคาดการณ์ที่ 2.2 - 3.2%) จากเดิมที่ คาดไว้จะโตได้ 3.5% ผลจากภาคการส่งออกที่ยังไม่ฟื้นตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของ ไทย ทำให้คาดว่าภาพรวมการส่งออกของไทยในปีนี้ -1.8% หดตัวเพิ่มขึ้นจากคาดการณ์เดิมที่ -0.8% ขณะเดียวกันตัวเลขนักท่องเที่ยวต่าง ชาติที่คาดว่าจะเดินทางเข้าไทยในปีนี้ ลดลงเหลือ 27.7 ล้านคน จากคาดการณ์เดิมที่ 29.5 ล้านคน - สศค.เผยภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือน ก.ย.66 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่องทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศและผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงต่อ เนื่อง อย่างไรก็ดี ยังคงต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในด้านต่างๆ - ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) คาดการส่งออกของไทยในระยะต่อไปมีแนวโน้มขยายตัวต่อ เนื่อง โดยมีแรงสนับสนุนจากปัจจัยราคาสินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้นและปัจจัยฐานต่ำในไตรมาส 4 ของปี 66 อย่างไรก็ดี การเติบโตของการส่ง ออกช่วงท้ายปีจะไม่สามารถชดเชยภาพรวมการส่งออกตั้งแต่ต้นปีที่หดตัวแรงได้ ส่งผลให้คาดว่ามูลค่าส่งออกสินค้า (ระบบดุลการชำระ เงิน) ในปี 66 มีแนวโน้มหดตัว 1.5% แต่มีแนวโน้มพลิกกลับมาขยายตัวได้ 3.5% ในปี 67 - บรรดานักลงทุนจับตารอการเปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนก.ย. ของสหรัฐ ในวันนี้ เพื่อพิจารณาทิศทางเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม หลังจากที่สัญญาณเงินเฟ้อที่ผ่อนคลายลงเมื่อวานนี้ (26 ต.ค.) ส่งผลให้อัตรา ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐลดลง - สัปดาห์หน้าจะมีการประชุมเฟดในวันที่ 31 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2566 นักลงทุนเทน้ำหนักในการคาดการณ์ว่าเฟดจะ คงอัตราดอกเบี้ยในการประชุม 2 ครั้งสุดท้ายในปีนี้ แม้ว่านายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ส่งสัญญาณเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อ สกัดเงินเฟ้อ - FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 97.1% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25- 5.50% ในการประชุมวันที่ 31 ต.ค.-1 พ.ย. และให้น้ำหนัก 68.9% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 12-13 ธ.ค.
กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest