ภาวะตลาดเงินบาท: ระหว่างวันแข็งค่าหลุด 36 ก่อนกลับมาปิดที่ 36.04 ตลาดจับตาประชุม BOJ-FED

© Reuters. ภาวะตลาดเงินบาท: ระหว่างวันแข็งค่าหลุด 36 ก่อนกลับมาปิดที่ 36.04 ตลาดจับตาประชุม BOJ-FED

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ 36.04 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจากเปิดตลาด เมื่อเช้าที่ระดับ 36.11 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาค ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 35.98 - 36.12 บาท/ ดอลลาร์ โดยตลาดรอดูผลประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น และธนาคารกลางสหรัฐฯ "บาทแข็งค่าจากช่วงเช้า ระหว่างวันหลุด 36.00 บาท/ดอลลาร์ แต่ก็กลับมายืนเหนือ 36 บาท/ดอลลาร์" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 35.90 - 36.20 บาท/ดอลลาร์ THAI BATH SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 36.0409 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ 149.61 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 149.68 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ 1.0553 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0557 ดอลลาร์/ยูโร - ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2567 มีความเสี่ยงสูงขึ้น โดยกองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก ชี้ว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวได้ช้าและไม่ทั่วถึง ซึ่งการขยายตัวทำได้ในระดับ 3% ถือเป็นการ ขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบ 30 ปี - รมช.คลัง เผยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) อยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียการทบทวนจัดเก็บภาษีที่ดินและ สิ่งปลูกสร้าง เพื่อหาทางอุดช่องโหว่รายใหญ่หลบเลี่ยงภาษี - ผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO) เตือนว่า การทำสงครามระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสอาจจะส่งผล กระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก หากสงครามลุกลามเป็นวงกว้างขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลาง - ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) เปิดเผยในวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3/2566 ขยายตัว 0.7% หลังจากที่มีการขยายตัว 0.1% ในไตรมาส 2 ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์รอดพ้นจากภาวะถดถอยอย่างฉิวเฉียด โดยตัวเลข GDP ไตรมาส 3 ที่มีการเปิดเผยในวันนี้เป็นการประมาณการครั้งสุดท้าย - ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดฉากประชุมนโยบายการเงินวันแรกในวันนี้ และจะแถลงมติอัตราดอกเบี้ยในวันพรุ่งนี้ ขณะที่ นักวิเคราะห์คาดว่า คณะกรรมการ BOJ จะปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อของญี่ปุ่นขึ้นสู่ระดับสูงกว่าเป้าหมาย 2% ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 ซึ่งจะ เป็นอุปสรรคต่อความพยายามในการเดินหน้าใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ (Ultra-loose Monetary Policy) ของ BOJ

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest