ภาวะตลาดเงินบาท: เย็นนี้ 35.92 ระหว่างอ่อนค่าตามภูมิภาค ตลาดจับตาตัวเลขเศรษฐกิจต่างประเทศคืนนี้
InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ 35.92 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเมื่อเช้าที่ ระดับ 35.94/95 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.86 - 36.14 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทอ่อนค่าตามสกุลเงินในภูมิภาค หลังดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนออกมาแย่กว่าคาด ประกอบกับการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีการปรับนโยบายเล็กน้อย ทำให้ตลาดผิดหวัง ส่งผลให้เงินเยนถูกเทขาย และเข้าซื้อ ดอลลาร์แทน จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่า สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามคืนนี้ คือ ยูโรโซน รายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3/66 และอัตราเงิน เฟ้อเดือนต.ค. ส่วนสหรัฐฯ รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค. นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 35.85 - 36.10 บาท/ดอลลาร์ THAI BATH SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 35.9422 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 150.36 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 149.50 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0637 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0600 ดอลลาร์/ยูโร - ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนก.ย. 66 อยู่ในทิศทางฟื้นตัว โดยกิจกรรมในภาค บริการฟื้นตัวต่อเนื่องตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประกอบกับมูลค่าการส่งออกสินค้าไม่รวมทองคำปรับเพิ่มขึ้นในหลายหมวดสินค้า ด้าน การผลิตภาคอุตสาหกรรมทรงตัว ขณะที่อุปสงค์ในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนชะลอลงหลังจากเร่งไปในช่วงก่อนหน้า สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐหดตัวจากทั้งรายจ่ายของรัฐบาลกลางและการลงทุนรัฐวิสาหกิจ - สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนก.ย. 66 อยู่ที่ระดับ 91.60 ลด ลง 6.06% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนไตรมาส 3/66 ลดลงเฉลี่ย 6.19% ส่งผลให้ 9 เดือนแรกของปี 66 อยู่ที่ระดับ 94.31 ลดลง 5.09% หลังการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมชะลอตัว สะท้อนแนวโน้มเศรษฐกิจโลกยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง และค่าเงินบาทอ่อน ค่าลง กดดัน GDP ภาคอุตสาหกรรมปีนี้คาดหดตัว 2.5-3.0% และ MPI ปี 66 หดตัว 4.0-4.5% - กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา ประเมินเบื้องต้น คาดว่าในสัปดาห์นี้นักท่องเที่ยวจะปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการเริ่มเข้า มาของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป และจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น ที่กำลังเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงฤดูหนาว รวมถึงการวีซ่าฟรีให้แก่นักท่อง เที่ยวชาวจีน และคาซัคสถาน ทั้งนี้ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวระหว่างประเทศและในประเทศ ยังคงได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน เชื้อเพลิงที่สูงขึ้น และอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากเหตุความขัดแย้งภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ตลอดจนการเข้าสู่ ภาวะสงครามของอิสราเอล - ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศปรับนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (YCC) โดยกำหนดเพดานกรอบบน ของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีที่ระดับ 1.0% พร้อมปรับเพิ่มคาดการณ์แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในปีงบประมาณ 2566 ขึ้นสู่ ระดับ 2.8% จากเดิมที่ระดับ 2.5% นอกจากนี้ BOJ ยังประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นที่ระดับ -0.1% แม้อัตราเงินเฟ้อพื้น ฐานของญี่ปุ่นสูงกว่าเป้าหมายที่ระดับ 2% เป็นเดือนที่ 18 ติดต่อกันแล้วก็ตาม - สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานในวันนี้ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตหดตัวลงเกินคาดใน เดือนต.ค. ซึ่งบดบังข้อมูลเชิงบวกที่บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนเมื่อไม่นานมานี้ - สภาทองคำโลก (WGC) เปิดเผยในวันนี้ว่า ความต้องการทองคำทั่วโลกไม่รวมการซื้อขายนอกตลาด (OTC) ปรับตัวลด ลง 6% ในไตรมาส 3/66 เนื่องจากแรงซื้อของธนาคารกลางน้อยลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของเมื่อปีที่แล้ว และผู้ผลิตอัญมณีใช้ ทองคำลดลง
กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest