ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.21 อ่อนค่าต่อเนื่องจากช่วงเช้า จับตาสัญญาณทิศทางดอกเบี้ยเฟดคืนนี้

© Reuters. ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.21 อ่อนค่าต่อเนื่องจากช่วงเช้า จับตาสัญญาณทิศทางดอกเบี้ยเฟดคืนนี้

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 36.21 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 36.17 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าหลังได้ปัจจัยหนุน จากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีเกินคาด และการปรับตัวสูงขึ้นของบอนด์ยีลด์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 36.11 - 36.33 บาท/ดอลลาร์ "บาทอ่อนค่าตามภูมิภาค ระหว่างวันทิศทางค่อนข้างผันผวน ตลาดรอดูผลประชุมเฟดคืนนี้จะส่งสัญญาณทางเศรษฐกิจในระยะต่อ ไปอย่างไร" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 36.10 - 36.30 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 151.26 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 151.40 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0546 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 1.0573 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,380.57 จุด ลดลง 1.26 จุด, -0.09% มูลค่าการซื้อขาย 38,090.52 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 738.69 ลบ. - คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับประมาณการส่งออกปีนี้เป็น -2.0 ถึง -1.0 (ประมาณการเดิม เมื่อ ต.ค.66 ที่ -2.0% ถึง -0.5%) เนื่องจากประเด็นด้านสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์มีผลกระทบด้านเศรษฐกิจโลก ให้เผชิญกับ ความไม่แน่นอนมากขึ้น ซึ่งอาจมีผลต่อการส่งออกในระยะข้างหน้า แต่ยังคงจีดีพีปีนี้ไว้ที่ 2.5-3.0% - กระทรวงพาณิชย์ เผยการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนในเดือน ก.ย.66 มีมูลค่า 148,564 ล้านบาท ลดลง 3.32% จากเดือน ก.ย.ปีก่อน โดยการส่งออกผ่านแดนไปจีนเพิ่มขึ้น 55.51% ส่วนการส่งออกชายแดนลดลง 15.69% - บอร์ดอีวีไฟเขียวมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 (EV3.5) ในช่วง 4 ปี (67-70) เดินหน้าสู่เป้า หมาย 30@30 ภายในปี 73 ผลักดันไทยขึ้นแท่นฮับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าอันดับหนึ่งของภูมิภาค และ 10 อันดับแรกของโลก หลังประสบ ความสำเร็จโครงการระยะแรก ยอด 9 เดือน มีรถยนต์ไฟฟ้าในไทยจดทะเบียนใหม่ เติบโต 7.6 เท่า สร้างการลงทุนกว่า 61,000 ล้านบาท - ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจโดยรวมในเดือน ต.ค.66 ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 48.9 จาก 50.4 ในเดือนก่อน จากอุปสงค์จีนที่ชะลอลงตามเศรษฐกิจจีนที่ฟื้นตัวช้า และความกังวลต่อผลกระทบของเหตุยิงกลางห้างสรรพ สินค้าในช่วงต้นเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา - ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เข้าแทรกแซงตลาดพันธบัตรรัฐบาลเพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี หลังจาก BOJ ประกาศปรับนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน พันธบัตร (YCC) ในการประชุมเมื่อวานนี้ - ไฉซินและเอสแอนด์พี โกลบอล เผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนหดตัวลงอย่างเหนือความคาดหมาย ในเดือน ต.ค.ที่ระดับ 49.5 จากระดับ 50.6 ในเดือน ก.ย.ทำให้ตลาดกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวอย่างเปราะบางของเศรษฐกิจจีนในช่วง เริ่มต้นไตรมาส 4 - ทำเนียบขาวเปิดเผยว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ เตรียมพบกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน นอกรอบการ ประชุมสุดยอดผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกหรือเอเปค (APEC Summit) ที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนียระหว่าง วันที่ 11-17 พ.ย. - หัวหน้านักกลยุทธ์ด้านเศรษฐกิจมหภาคของบริษัทเนด เดวิส รีเสิร์ช (Ned Davis Research) เตือนว่า นักลงทุนควร เตรียมตัวรับมือกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีที่มีแนวโน้มพุ่งขึ้นทะลุระดับ 7% หากเศรษฐกิจสหรัฐสามารถหลีกเลี่ยง ภาวะถดถอยที่คาดการณ์กันไว้ได้ - นักลงทุนจับตาผลการประชุมของเฟด และแถลงการณ์ของนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด เพื่อหาสัญญาณเกี่ยวกับทิศ ทางอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมครั้งนี้

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest