ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.99 แข็งค่า รับดอลลาร์อ่อนค่าหลังเฟดคงดอกเบี้ยตามคาด
InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.99 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากปิด ตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 36.21 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทและสกุลเงินในภูมิภาคเช้านี้แข็งค่า ตามดอลลาร์ที่อ่อนค่า หลังจากที่วานนี้ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชน และดัชนีภาค การผลิต (ISM) ของสหรัฐฯ ออกมาแย่กว่าคาด ขณะที่ผลประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ออกมาว่า จะคงดอกเบี้ยตามคาด ประกอบกับเฟดลดท่าทีแข็งกร้าว ทำให้ตลาดมองว่าเฟดน่าจะจบการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว ส่งผลให้ ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินส่วนใหญ่ นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.90 - 36.20 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยที่ต้องติดตามวันนี้ คือ การประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) แถลงมติอัตราดอกเบี้ย ส่วนสหรัฐฯ รายงานจำนวนผู้ขอ รับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.02000 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 150.32 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 151.26 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0598 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0546 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 36.254 บาท/ดอลลาร์ - คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมมองเศรษฐกิจโลกเผชิญกับความไม่แน่นอนมากขึ้น จากภาวะสงครามอิสราเอล-ฮามาส ซึ่งอาจมีผลต่อการส่งออกในระยะข้างหน้า กกร.จึงปรับประมาณการส่งออกปี 2566 ใหม่เป็นติดลบ 2% ติดลบ 1% ประกอบกับความกังวลต่อค่าเงินบาทที่อยู่ในทิศทางอ่อนค่า แม้จะสอดคล้องกับสกุลเงินอื่นๆ แต่เป็นปัจจัยกดดันให้ดุลบัญชีเดิน สะพัดขาดดุล จากความเสี่ยงที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้น - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่นส่งสัญญาณว่า รัฐบาลญี่ปุ่นไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ที่จะใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อ สกัดการอ่อนค่าของเยนหลังจากดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปีเมื่อเทียบดอลลาร์ โดยระบุว่ากำลังจับตาเพื่อเตรียมรับมือกับการดิ่งลง ของเยน ซึ่งเป็นการปรับตัวลงเพียงด้านเดียว โดยการซื้อขายแบบเก็งกำไรเป็นปัจจัยใหญ่ที่สุดที่ทำให้เยนร่วงลงในช่วงที่ผ่านมา - ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้น 113,000 ตำแหน่งใน เดือนต.ค. แต่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 130,000 ตำแหน่ง หลังจากเพิ่มขึ้น 89,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. - สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 46.7 ในเดือนต. ค. จากระดับ 49.0 ในเดือนก.ย. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 49.2 - สำนักงานสถิติของกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน เพิ่มขึ้น 56,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 9.553 ล้าน ตำแหน่งในเดือนก.ย. และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 9.250 ล้านตำแหน่ง - คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อวานนี้ (1 พ.ย.) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 22 ปี การประกาศคงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และเป็นการตรึงอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 11 ครั้งนับตั้งแต่ที่เริ่มวัฏจักรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. 2565 ส่งผลให้เฟดปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยรวม 5.25% - แถลงการณ์ของคณะกรรมการเฟดส่งสัญญาณว่า มีความเป็นไปได้ที่เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในอนาคตเนื่องจาก กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐมีการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในไตรมาส 3 อย่างไรก็ดี เฟดยอมรับว่าภาวะการเงินที่มีความตึงตัวมากขึ้น นั้นได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (1 พ.ย.) หลัง จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมล่าสุด และส่งสัญญาณถึงความเป็นไปได้ว่าอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อีกในอนาคต เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐมีความแข็งแกร่ง ขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันศุกร์นี้ - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ (1 พ.ย.) ก่อนที่ตลาดจะรู้ผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลาง สหรัฐ (เฟด) โดยตลาดทองคำนิวยอร์กปิดทำการซื้อขายก่อนที่คณะกรรมการเฟดจะแถลงมติการประชุม - นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนต.ค.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาด การณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้นเพียง 188,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. หลังจากพุ่งขึ้น 336,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นการ เพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. นอกจากนี้ คาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 3.8% ในเดือนต.ค.
กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest