ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.57/58 ตลาดจับตาสัญญาณดอกเบี้ยเฟด

© Reuters. ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.57/58 ตลาดจับตาสัญญาณดอกเบี้ยเฟด

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.57/58 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาด เมื่อเช้าที่ระดับ 35.51 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 35.45-35.60 บาท/ดอลลาร์ วันนี้เงินบาทค่อนข้างนิ่ง คืนนี้ตลาดรอติดตามถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ว่า จะ มีการพูดเรื่องดอกเบี้ย หรือมีการส่งสัญญาณว่าขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 35.40-35.65 บาท/ดอลลาร์ หากคืนนี้ประธานเฟด ไม่ได้พูดอย่างแข็งกร้าวว่าจะขึ้นดอกเบี้ย โดยในการประชุมเฟดวันที่ 12-13 ธ.ค. ตลาดก็มองว่ามีโอกาสที่จะคงดอกเบี้ยประมาณ 90%

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ 150.70/73 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 150.57 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ 1.0666/0670 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 1.0688 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,515.44 จุด ลดลง 14.07 จุด (-0.92%) มูลค่าการซื้อขาย 38,066.24 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,590.77 ลบ. - นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้นัดแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลมารับประทานอาหารค่ำร่วมกันในวันนี้ เวลา 19.00 น. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงาน โดยหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรคให้การตอบรับมาร่วมรับประทานอาหารค่ำแล้ว รวมถึง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ด้วย - ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ผลสำรวจในเดือน ต.ค.66 (สำรวจระหว่างวันที่ 20-31 ต.ค.66) พบว่า "ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index: ICI) ในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 76.87 ปรับลง 31.5% จากเดือนก่อนหน้าลงมาอยู่ในเกณฑ์ "ซบเซา" - Krungthai COMPASS มองว่า แนวโน้มการส่งออกสินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรของไทยในระยะข้างหน้ามี ปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ดังนี้ 1. ความเสี่ยงจากภัยแล้ง 2. มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศคู่ค้า ที่มุ่งเน้นการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก 3. ความขัดแย้งของกลุ่มฮามาสและอิสราเอล 4. การส่งออกไปยังกลุ่มประเทศสงคราม อาจมีความเสี่ยงเรื่องการ ชำระเงิน หากสงครามมีการลุกลาม และ 5. แรงกดดันด้านต้นทุนการผลิต เช่น ค่าแรงงาน และอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสูง - เจ้าหน้าที่หลายคนของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ออกมาแสดงท่าทีสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากมอง ว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง โดยหนึ่งในสมาชิกคณะผู้ว่าการเฟดกล่าวว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3/66 ของสหรัฐที่ขยายตัว 4.9% นั้น ถือว่าแข็งแกร่งมากและเฟดควรจับตาข้อมูล GDP อย่างใกล้ชิดเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเรื่องอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายต่อไป - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่า อัตราค่าจ้างในยูโรโซนที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วอาจจะทำให้เงินเฟ้อ ปรับตัวขึ้นในระยะเวลาที่นานขึ้น และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ควรจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงหรือใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ไปจนถึงปีหน้า เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ - ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้แสดงความเชื่อมั่นว่า จีนจะสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโตของตัวเลขผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่ระดับ 5% ในปีนี้ และธนาคารกลางจีนจะยังคงใช้นโยบายการเงินอย่างรอบคอบเพื่อฟื้นฟูการเติบโตของ เศรษฐกิจที่แท้จริง - กองกำลังภาคพื้นดินของอิสราเอลในฉนวนกาซาได้เริ่มปฏิบัติการในวันพุธ (8 พ.ย.) เพื่อค้นหาและปิดเครือข่ายอุโมงค์ ขนาดใหญ่ของกลุ่มฮามาสที่อยู่ภายใต้ฉนวนกาซา โดยการปฏิบัติการรุกคืบทางทหารครั้งล่าสุดของอิสราเอลได้คร่าชีวิตชาวปาเลสไตน์ไปแล้ว หลายพันราย - นักลงทุนรอการเปิดเผยข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนต.ค.ของจีนในวันพรุ่งนี้ (9 พ.ย.)

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest