ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.55 แกว่ง sideway รอปัจจัยใหม่ ตลาดจับตาสัญญาณดอกเบี้ยจากถ้อยแถลงปธ.เฟด
InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 35.55 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียง จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.53 บาท/ดอลลาร์ วันนี้เงินบาทยังเคลื่อนไหวแบบ sideway เนื่องจากระหว่างวัน ยังไม่มีปัจจัยใหม่ที่จะมีผลต่อทิศทางของค่าเงินบาทเท่าใด นัก โดยระหว่างวัน เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.40-35.70 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่คืนนี้ ตลาดรอฟังถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนมาก ขึ้นเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ย โดยประธานเฟด มีกำหนดกล่าวสุนทรพจน์ในงานเสวนา 24th Jacques Polak Annual Research Conference ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในหัวข้อ "Monetary policy challenges in a global economy" หรือ "ความท้าทายของนโยบายการเงินในเศรษฐกิจโลก" นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.45 - 35.65 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 151.03 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 150.88 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0694 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0712 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,404.97 จุด ลดลง 6.80 จุด (-0.48%) มูลค่าซื้อขาย 49,743.19 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 3,189.72 ลบ. - บีโอไอ เผยช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-ก.ย.66) มีโครงการขอรับส่งเสริมการลงทุน 1,555 โครงการ เพิ่มขึ้นจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อน 31% คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 516,802 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22% โดยอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ลงทุนสูงสุด 3 อันดับ แรก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 208,288 ล้านบาท รองลงมา คือ เกษตรและแปรรูปอาหาร 55,778 ล้านบาท ตามด้วย ยานยนต์และชิ้นส่วน 42,200 ล้านบาท - Krungthai COMPASS ประเมินว่า ภาคการท่องเที่ยวของไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยว ต่างชาติในปี 2567 จะเร่งตัวแตะ 35 ล้านคน หรือฟื้นตัว 88% เมื่อเทียบกับปี 2562 จากความต้องการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่วนปี 2568 ภาคการท่องเที่ยวไทย มีแนวโน้มกลับเข้าสู่ระดับปกติ โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับมาเท่าระดับ เดียวกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ที่ 40.0 ล้านคนได้ - ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ต.ค.66 อยู่ที่ระดับ 60.2 ปรับตัวดีขึ้นจากในเดือน ก.ย.ที่ 58.7 เป็นการปรับตัวเพิ่ม ขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และถือว่าดัชนีปรับตัวสูงสุดในรอบ 44 เดือน นับตั้งแต่ มี.ค.62 เนื่องจากประชาชนรู้สึกว่าเศรษฐกิจค่อยๆ ดีขึ้น ใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิด - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คงคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ที่ 2.7% ในด้านของเงิน เฟ้อนั้น IMF คาดการณ์ว่าจะยังคงอยู่ในกรอบเป้าหมายของทางการไทย อย่างไรก็ตาม แนวโน้มดังกล่าวยังคงมีความไม่แน่นอนอย่างสูง เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงขาลงต่างๆ ขณะเดียวกัน IMF คาดการณ์ว่าในปี 2567 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 3.6% เพิ่มขึ้นจากที่เคยคาดการณ์ ไว้เมื่อช่วงกลางเดือนต.ค.ที่ 3.2% - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเมินว่า ลาวมีหนี้สาธารณะคิดเป็นสัดส่วน 122% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน ประเทศ (GDP) ในปีนี้ โดยหนี้สินส่วนใหญ่เกิดจากการกู้ยืมเงินจีนเพื่อนำไปลงทุนตามข้อตกลงด้านโครงสร้างพื้นฐานภายใต้แผนริเริ่มหนึ่ง แถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ของจีน
กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest