ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.09 อ่อนค่าตามภูมิภาค ลุ้นเงินเฟ้อสหรัฐ คาดกรอบพรุ่งนี้ 35.95-36.20

© Reuters. ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.09 อ่อนค่าตามภูมิภาค ลุ้นเงินเฟ้อสหรัฐ คาดกรอบพรุ่งนี้ 35.95-36.20

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 36.09 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าเปิดตลาดที่ระดับ 35.99 บาท/ดอลลาร์ วันนี้เงินบาทอ่อนค่าเคลื่อนไหวเกาะกลุ่มไปกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค โดยระหว่างวันแกว่งในกรอบ 35.99-36.13 บาท/ ดอลลาร์ โดยตลาดรอดูอัตราเงินเฟ้อ (CPI) เดือนต.ค. ของสหรัฐฯ ที่จะรายงานในคืนนี้ ซึ่งหากเงินเฟ้อออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ไว้จะมีผลให้ดอลลลาร์แข็งค่า และเงินบาทจะอ่อนค่าต่อเนื่อง "ระหว่างวัน ยังไม่มีปัจจัยอะไรมาก ต่างชาติขายพันธบัตร 700 ล้าน ซึ่งไม่ได้เยอะ ตลาดรอดูการรายงานเงินเฟ้อของ สหรัฐฯ คืนนี้" นักบริหารเงินระบุ นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.95-36.20 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 151.68 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 151.73 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0713 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0695 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,386.04 จุด ลดลง 1.09 จุด (-0.08%) มูลค่าการซื้อขาย 47,578.86 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 26.66 ลบ. (SET+MAI) - กระทรวงการคลัง หารือร่วมกับสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) ได้ข้อสรุปหลักเกณฑ์มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดตั้ง กองทุน Thailand ESG Fund กำหนดระยะเวลาลงทุน 8 ปีเต็ม วงเงินลงทุนไม่เกิน 100,000 บาท/ราย เริ่มภายในเดือน ธ.ค.นี้ คาดว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท โดยจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในสัปดาห์หน้า - หอการค้าไทย ถก รมว.ท่องเที่ยว ดัน 3 ข้อเสนอส่งเสริมท่องเที่ยวเที่ยวไทย 1. เพิ่มรายได้จากนักท่องเที่ยวให้เกิด การใช้จ่ายที่สูงขึ้น (More Spending) 2. เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ (More Quality Market) 3. สร้างความเข้มแข็งให้ กับผู้ประกอบการ (More Support) - นักลงทุนจับตาการรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนต.ค.ของสหรัฐฯ ในวันนี้ โดยดัชนี CPI เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อ จากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าดัชนี CPI ทั่วไป จะเพิ่มขึ้น 3.3% ชะลอตัวลงจากเดือนก.ย. ที่ปรับตัวขึ้น 3.7% และคาดว่าดัชนี CPI พื้นฐาน จะปรับตัวขึ้น 4.1% ในเดือนต.ค. ทรงตัวจากเดือนก.ย. - นางเจเน็ต เยลเลน รมว.คลังสหรัฐ แสดงความไม่เห็นด้วยกับการที่มูดี้ส์ปรับลดแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ โดยนางเยลเลน เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง และตลาดพันธบัตรสหรัฐมีความปลอดภัย และมีสภาพคล่องสูง - นักเศรษฐศาสตร์จากโกลด์แมน แซคส์ ระบุว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในไตรมาส 4 ปี 2567 โดยระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความแข็งแกร่งมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงที่สหรัฐฯ จะเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย และคาดว่าในปี 2567 เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเติบโตได้ 2.1% - โกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์ว่า ในปี 2567 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 2.6% โดยมองว่า เศรษฐกิจโลกจะแข็งแกร่งกว่าที่ คาดการณ์ไว้ โดยได้แรงหนุนจากรายได้ที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง และความเชื่อมั่นที่ว่าภาวะเลวร้ายที่สุดของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้สิ้น สุดลงแล้ว - ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนต.ค., ยอดค้า ปลีกเดือนต.ค., ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนต.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, การผลิตภาคอุตสาหรรมเดือนต. ค., ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนพ.ย. และตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและอนุญาตก่อสร้างเดือนต.ค. เป็นต้น

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest