ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.86 แข็งค่ารอปัจจัยใหม่หนุนทิศทาง ให้กรอบวันนี้ 34.75-35.00

© Reuters. ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.86 แข็งค่ารอปัจจัยใหม่หนุนทิศทาง ให้กรอบวันนี้ 34.75-35.00

InfoQuest - นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 34.86 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากปิดวันก่อนที่ระดับ 34.99 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทเคลื่อนไหวไปตามทิศทางเงินดอลลาร์ที่ทยอยอ่อนค่าลง หลังตลาดต่างรอลุ้นปัจจัยใหม่ๆ อาทิ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจ สหรัฐฯ และถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ นอกจากนี้ เงินบาทยังได้แรงหนุนจาก โฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ ขณะที่ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ล่าสุด สะท้อนว่า BOJ จะยังคงใช้นโยบายการเงินที่ผ่อน คลายต่อไปในช่วงนี้ วันนี้ ตลาดจะรอประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของทั้งธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ผ่าน รายงานอัตราเงินเฟ้อ (CPI) ของอังกฤษ รวมถึงถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ ECB "แนวโน้มของค่าเงินบาท มองว่ายังขาดปัจจัยใหม่ๆ ที่ชัดเจน ทั้งในฝั่งอ่อนค่า หรือแข็งค่า" นายพูน ระบุ อย่างไรก็ดี ควรจับตาทิศทางราคาทองคำอย่างใกล้ชิด หลังราคาทองคำเริ่มแกว่งตัวในกรอบที่มีโซนแนวรับ-แนวต้านในระยะ สั้น และพร้อมที่จะเลือกทิศทางในระยะถัดไป ซึ่งโฟลว์ธุรกรรมทองคำ ยังคงส่งผลกระทบต่อทิศทางเงินบาทได้พอสมควรในช่วงนี้ นายพูน คาดกรอบเงินบาทวันนี้จะอยู่ที่ระดับ 34.75-35.00 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.94500 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ - เงินเยนอยู่ที่ระดับ 143.83 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 144.44/47 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.10970 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 1.0940/0944 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.991 บาท/ดอลลาร์ - "ซีไอเอ็มบี ไทย" เผยปีหน้า คาด "ธุรกิจซื้อขายหุ้นกู้" เติบโต 40% แตะ 1.2 แสนล้าน ไม่หวั่นประเด็นเบี้ยวหนี้หุ้นกู้ กระทบความเชื่อมั่น มั่นใจตลาดทุนปี 67 เอื้อจากผลตอบแทนพุ่ง พร้อมตั้งเป้าฐานลูกค้ากลุ่มมั่งคั่ง-สินทรัพย์ภายใต้บริหารปีหน้าขยายตัว 12-15% - ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการมาตรการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าทั้ง 2 มาตรการ วงเงินรวม 4.1 หมื่นล้านบาท แยกเป็นมาตรการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าระยะที่ 2 หรืออีวี 3.5 ระยะเวลา 4 ปี (67-70) วงเงิน 3.4 หมื่นล้านบาท ตามที่คณะ กรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติหรือบอร์ดอีวีเสนอ โดยจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค.67 เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าขยายตัว ต่อเนื่อง และผลักดันไทยก้าวสู่การเป็นฐานผลิตชั้นนำของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค - นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) ทำประกันภัยให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติทุกคนครอบคลุมการเสียชีวิตชดเชยไม่เกิน 1 ล้านบาท กรณีอุบัติเหตุชดเชยตาม จริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาท - ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ปี 2567 คาดว่าการส่งออกจะเติบโตได้ 2-3% - ธนาคารกลางจีน (PBOC) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปีที่ระดับ 3.45% และคงอัตรา ดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปีไว้ที่ระดับ 4.20% ในวันนี้ (20 ธ.ค.) ซึ่งเป็นไปตามที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (19 ธ. ค.) โดยดอลลาร์ปรับตัวลงตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค ส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งเป็นข้อมูลเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร (19 ธ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์และการร่วงลง ของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งเป็นข้อมูล เงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ - นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนี PCE ทั่วไป (Headline PCE) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะเพิ่มขึ้น 2.8% ใน เดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายปี จากระดับ 3.0% ในเดือนต.ค. ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน (Core PCE) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและ พลังงาน คาดว่าจะปรับตัวขึ้น 3.4% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายปี จากระดับ 3.5% ในเดือนต.ค. - ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ สัปดาห์นี้ ได้แก่ ดุลบัญชีเดินสะพัดไตรมาส 3/2566, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนธ.ค., ยอดขายบ้านมือสองเดือนพ.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3/2566, ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนพ.ย., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนธ.ค และยอดขายบ้านใหม่ เดือนพ.ย.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest