ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.64 แกว่งแคบ ตลาดรอตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ คืนนี้

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.64 แกว่งแคบ ตลาดรอตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ คืนนี้

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 35.64 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็กน้อยจาก เปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.65 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.62 - 35.70 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้ตลาดรอดูตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือน มี.ค.จากเฟดนิวยอร์ก, การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ บริโภคเดือนมี.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน โดยเฉพาะข้อมูลยอดค้าปลีกเดือน ก.พ. "วันนี้บาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ตลาดรอดูตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ คืนนี้ก่อนเข้าสู่การประชุมเฟดในสัปดาห์หน้า ขณะที่ดอลลาร์เองก็แกว่งตัวออกด้านข้าง และย่ำฐานรอดูข้อมูลเพิ่มเติม" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ้งนี้ไว้ที่ 35.55 - 35.75 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 147.84 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 147.63 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0940 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0948 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,394.93 จุด เพิ่มขึ้น 10.42 จุด, +0.75% มูลค่าซื้อขาย 46,462.09 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 3,699.49 ล้านบาท - ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือ 2.7% จาก เดิม 3.0% แม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากแรงขับเคลื่อนของภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการ รวมถึง เศรษฐกิจด้านอุปสงค์อื่นที่กลับมาขยายตัวเร่งขึ้นในหลายองค์ประกอบ โดยเฉพาะการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มดีขึ้น - ภาคเอกชนเสนอให้ภาครัฐในการสนับสนุนและกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในประเทศให้เพิ่มขึ้นและมีความต่อเนื่อง อยากให้มี โครงการซื้อสินค้าและบริการที่นำมาใช้ลดหย่อนภาษีออกมาต่อเนื่องปีละ 2-3 ครั้ง จากที่เห็นในช่วงโครงการ Easy e-reciept ในช่วง เดือนม.ค.-ก.พ.ที่ผ่านมา การจับจ่ายใช้สอยในร้านค้าที่อยู่ในศูนย์การค้ามีความคึกคักมากขึ้น ส่งผลบวกต่อผู้เช่าในศูนย์การค้า ทำให้บริษัท มองว่าเป็นโครงการที่ดีที่อยากให้ภาครัฐมีการผลักดันออกมาเพิ่มขึ้น - เจพีมอร์แกน ไพรเวท แบงก์ คาดการณ์สกุลเงินต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียอาจจะอ่อนค่าลงในปีนี้ แม้มีสัญญาณบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเร็วๆ นี้ก็ตาม - นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางจีนจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพรุ่งนี้ (15 มี.ค.) ท่ามกลางความไม่แน่ นอนเกี่ยวกับช่วงเวลาที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย - จีนประกาศว่าจะใช้ "ทุกมาตรการที่จำเป็น" เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทจีนในต่างประเทศ หลังจากที่สภาผู้แทน ราษฎรสหรัฐมีมติผ่านร่างกฎหมายระบุให้ไบต์แดนซ์ (ByteDance) ขายกิจการติ๊กต๊อก (TikTok) ภายในเวลา 6 เดือน มิฉะนั้นติ๊กต๊อก จะถูกแบนจากสหรัฐ - สภาแอตแลนติก (Atlantic Council) เผยแพร่ผลการศึกษาในวันนี้ (14 มี.ค.) ว่า ปัจจุบัน 134 ประเทศ ซึ่งคิด เป็นสัดส่วน 98% ของเศรษฐกิจโลก กำลังเดินหน้าสำรวจสกุลเงินดิจิทัลของตน ซึ่งมากกว่าครึ่งกำลังดำเนินการผ่านการพัฒนาในระดับก้าว หน้า ระยะนำร่อง หรือเตรียมเปิดตัว ผลการศึกษาระบุว่า กลุ่มประเทศสมาชิก G20 ทั้งหมด ยกเว้นอาร์เจนตินา กำลังก้าวหน้าไปสู่ขั้น ตอนสำคัญในการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัล อย่างไรก็ตาม สหรัฐยังตามหลังอยู่มากในเรื่องดังกล่าว - นักลงทุนจับตารอการเปิดเผยข้อมูลดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.พ. ของสหรัฐ ในวันนี้ ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจาก การใช้จ่ายของผู้ผลิต และเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญในการพิจารณาทิศทางนโยบายและการปรับ อัตราดอกเบี้ย

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest