ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.65 ให้กรอบวันนี้ 35.55-35.75 จับตาตัวเลขศก.สหรัฐ-ทิศทาง Flow
InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.65 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.73 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาคและตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับ สกุลเงินหลัก แต่ยังขาดปัจจัยชี้นำใหม่ ตลาดรอดูตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ คืนนี้ ขณะที่ปัจจัยในประเทศต้องจับตาดูทิศทางของเงินทุนต่างประเทศ (Flow) จากผู้ค้าทอง เนื่องจากยังมีการเปลี่ยนแปลงต่อ เนื่อง ส่วน Flow นักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นและพันธบัตรยังไหลเข้ามาไม่มากนัก แค่โยกย้ายการลงทุน "บาทปรับตัวแข็งค่าตามทิศทางตลาดแต่ทรงตัวรอปัจจัยชี้นำใหม่ ระหว่างวันอาจผันผวนตามการเปลี่ยนแปลงของราคาทอง" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.55 - 35.75 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.67000 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 147.63 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 147.97 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0948 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0923 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 35.692 บาท/ดอลลาร์ - ฝ่ายค้านยื่นญัตติซักฟอกมาตรา 152 ถล่มรัฐบาลพร้อมคณะรัฐมนตรี เปิดข้อกล่าวหารัฐบาล ซัด 6 เดือนไม่ทำตามคำมั่น สัญญาที่ให้กับประชาชน คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย ไม่เสมอภาคเท่าเทียมทางกฎหมาย เมินเฉยแก้ปัญหาปากท้อง - รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา สั่งการให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประเมินสถานการณ์ทั้งปี 2567 ทั้งในส่วนของ นักท่องเที่ยวไทยไปจีน และนักท่องเที่ยวจีนมาไทย หลังจากวันที่ 1 มี.ค.2567 รัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนได้ออกมาตรการยกเลิกการตรวจ ลงตราเพื่อการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างกัน หรือวีซ่าฟรี - รมช.คมนาคม เดินหน้าตามนโยบายรัฐบาล ยกระดับการขนส่งทางน้ำทั้งระบบหนุนโครงการ "แลนด์บริดจ์-แหลมฉบัง เฟส 3" พร้อมเดินหน้ายกระดับมาตรฐานท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา-คลอง ใน กทม. เร่งสร้างท่าเรือสำราญในเมืองท่องเที่ยว หวัง กระตุ้นท่องเที่ยว เศรษฐกิจ สร้างงาน - สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2567 ลงเหลือ 2.3% จากเดิมมองไว้ที่ 3.1% ซึ่ง GDP 2.3% เป็นระดับที่ต่ำมากอีกปีหนึ่ง เกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก การบริโภคคนไทยซบเซา การลงทุนภาครัฐทรุดตัว และการส่งออกฟื้นตัวช้า - ส.อ.ท.โอดหนี้ครัวเรือนฉุดดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ ปรับตัวลดลง ปัจจัยต่างประเทศยังซ้ำ หวั่นผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ชงรัฐเร่งตรึงราคาดีเซล-ก๊าซหุงต้ม ลดภาระน้ำมัน วอน กนง.ลดดอกเบี้ย - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (13 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อดอลลาร์ พร้อมกับจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้แนวโน้มเงินเฟ้อ ก่อนที่การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพุธ (13 มี.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และจากการ ที่นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ - ตลาดจับตาการเปิดเผยดัชนี PPI ประจำเดือนก.พ.ของสหรัฐในวันนี้อย่างใกล้ชิด โดยคาดหวังว่าข้อมูลดังกล่าวจะทำให้ เห็นภาพรวมเงินเฟ้อของสหรัฐได้ชัดเจนยิ่งขึ้น หลังจากสหรัฐได้เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา - รัฐมนตรีคลังสหรัฐ เปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยในตลาด "ไม่น่า" จะกลับสู่ระดับก่อนที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะดัน ให้เงินเฟ้อและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเพิ่มขึ้น - ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และยอดค้าปลีกเดือนก.พ. ดัชนี ภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนมี.ค.จากเฟดนิวยอร์ก, การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.พ. และดัชนี ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest