ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.59 กลับมาแข็งค่าหลังดอลลาร์อ่อน จับตาตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ

© Reuters. ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 36.59 กลับมาแข็งค่าหลังดอลลาร์อ่อน จับตาตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ

InfoQuest - นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.59 บาท/ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นจากระดับปิดวันก่อนที่ระดับ 36.75 บาท/ดอลลาร์ โดยในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน แต่โดยรวมเป็นการปรับตัวแข็งค่าขึ้น (แกว่งตัวในช่วง 36.52- 36.79 บาทต่อดอลลาร์) ตามการปรับตัวอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุดออกมาผสมผสาน ส่งผลให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ย่อตัวลงบ้าง และทำให้ผู้เล่นในตลาดเริ่มกลับมาเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งลดความต้องการถือเงินดอลลาร์ เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย สำหรับวันนี้ ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานอัตราเงินเฟ้อจากทั้งฝั่งยูโรโซนและสหรัฐฯ โดยตลาดจะรอลุ้น รายงานอัตราเงิน เฟ้อ CPI ของยูโรโซน ในช่วงราว 16.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย ก่อนที่จะรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ ในช่วง ประมาณ 19.30 น. ตามเวลาในประเทศไทย "โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทอาจเริ่มชะลอลงบ้าง หลังเงินดอลลาร์ได้อ่อนค่าลงและเริ่มแกว่งตัว sideway ซึ่งส่วน หนึ่งมาจากตลาดรอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE ของสหรัฐฯ ในวันนี้ นอกจากนี้ หากราคาทองคำมีการรีบาวด์ขึ้นได้บ้าง ก็อาจมีโฟลว์ ธุรกรรมขายทำกำไรการรีบาวด์ของราคาทองคำ ช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทได้" นายพูน คาดกรอบเงินบาทวันนี้จะอยู่ที่ระดับ 36.40-36.70 บาท/ดอลลาร์ ในช่วงก่อนรับรู้อัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.58750 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 149.32 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 149.39 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0572 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0517เยน/ดอลลาร์ - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 36.767 บาท/ดอลลาร์ - ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่าจากกรณีค่าเงินบาทในช่วงเวลานี้อ่อน ค่าลงมากเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐเชื่อว่าจะช่วยรองรับแรงกระแทกในด้านลบ และช่วยภาคการส่งออกทำให้ผู้ประกอบการด้านการส่ง ออกมีสภาพคล่องที่ดีมากขึ้นซึ่งการอ่อนค่าของค่าเงินบาทมีประโยชน์ จึงไม่ได้น่าเป็นห่วงโดยการอ่อนค่าของเงินบาทมาจากนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด และนักลงทุนเฝ้ารอดูความชัดเจนนโยบายภาครัฐที่อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจและเสถียรภาพการคลังใน อนาคต - บาทอ่อนพยุงทองไทยไม่ไหว ร่วงแรง 250 บาท ก่อนดีดเบาๆ 50 บาท เหตุทองโลกทำนิวโลว์ต่อเนื่อง ราคาสปอตหลุด 1,900 ดอลลาร์/ออนซ์ กังวลเศรษฐกิจสหรัฐเสี่ยงชัตดาวน์ เฟดยืนดอกเบี้ยสูงนานกว่าคาด นายกสมาคมค้าทองคำแนะยังลงทุนได้เหตุเป็น สินทรัพย์ปลอดภัย - "กูรู" ส่งสัญญาณ ราคา "ทองคำ" มีโอกาสจะเป็น "ขาลง" หลังหลุดแนวรับระดับ 1,900 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทำนิวโล ว์ในรอบ 6 เดือน เหตุเฟด ประกาศขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง-ดอลลาร์แข็งผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐพุ่ง - ธนาคารกรุงเทพ (BBL) เปิดเผยว่า ธนาคารประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินกู้และเงินฝาก ตามการคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพต่อเนื่องในระยะยาว โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2566 - กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 2,000 ราย สู่ระดับ 204,000 รายใน สัปดาห์ที่แล้ว แต่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 214,000 ราย - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 3 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตร มาส 2/2566 โดยระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 2.1% ในไตรมาสดังกล่าว สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ และไม่ เปลี่ยนแปลงจากตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 แต่ต่ำกว่าตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 ที่ระดับ 2.4% - ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่ได้ส่งสัญญาณใด ๆ เกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในระหว่างการประชุมแบบ ทาวน์ฮอลล์ร่วมกับบรรดานักวิชาการเมื่อวานนี้ (28 ก.ย.) โดยกล่าวเพียงว่า การทำให้สาธารณชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและภาร กิจของเฟดนั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญ และหนึ่งในเป้าหมายของเฟดในการเปิดเผยตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจก็คือ การให้ข้อมูลเพื่อประกอบการ ตัดสินใจด้านการใช้จ่ายและการลงทุนทั้งในวันนี้และในอีกหลายเดือนข้างหน้า ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (28 ก. ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่า หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอาจถูกปิดการดำเนินงานหรือชัตดาวน์ หากสภาคองเกรสไม่สามารถบรรลุ ข้อตกลงเกี่ยวกับร่างงบประมาณชั่วคราวภายในวันที่ 30 ก.ย.นี้ - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันพฤหัสบดี (28 ก.ย.) โดยตลาดถูกกดดันจากความกังวลว่า ธนาคารกลาง สหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้ เพื่อสกัดเงินเฟ้อ - นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำเดือนส.ค.ของสหรัฐในวันนี้ (29 ก.ย.) ในเวลาประมาณ 19.30 น.ตามเวลาไทย โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถตรวจ จับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) - นักลงทุนจับตาความคืบหน้าของสภาคองเกรสในการผ่านร่างงบประมาณชั่วคราว ซึ่งหากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงภายในวัน ที่ 30 ก.ย. ก็จะทำให้มีการปิดหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐ หรือชัตดาวน์ในวันที่ 1 ต.ค.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest