ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 37.04 แกว่งแคบจากช่วงเช้า รอตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐคืนนี้
InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาท 37.04 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าเล็กน้อยจากเปิดตลาด เมื่อเช้าที่ระดับ 37.06 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทผันผวนในกรอบ 37.04 - 37.24 บาท/ดอลลาร์ ตามแรงซื้อขายดอลลาร์หลัง บาทอ่อนค่าไปมาก และต่างชาติขายพันธบัตร 3 พันล้านบาท "พออ่อนค่ามาเร็ว ระหว่างวันก็จะมีความผันผวนมาก พออ่อนค่าไปมากก็จะมีแรงเทขายดอลลาร์ออกมา" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 37.00 - 37.25 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้จะมีการ ประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ การจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ และดัชนี ISM1 ภาคการผลิตของสหรัฐฯ
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนทรงตัวเท่าเมื่อเช้าที่ระดับ 149.12 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ 1.0497 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0472 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,451.25 จุด เพิ่มขึ้น 3.95 จุด, +0.27% มูลค่าการซื้อขาย 51,227.05 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 136.51 ล้านบาท (SET+MAI) - ผู้ว่าการ ธปท.ชี้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องโดยมีแรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยวและการบริ โภค แม้ปีนี้ ธปท.จะปรับลดประมาณการ GDP ลงเหลือ 2.8% จากเดิมคาด 3.6% แต่ปี 67 ได้ปรับ GDP เพิ่มขึ้นเป็น 4.4% จากเดิม คาดไว้ที่ 3.8% ซึ่งสะท้อนกับทิศทางของเศรษฐโลกที่ฟื้นตัว และทำให้ภาคการส่งออกไทยปีหน้าได้รับอานิสงส์จากส่วนนี้ - ผู้ประกอบการท่องเที่ยว ประเมินเหตุกราดยิงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและภาคการท่องเที่ยวในระยะสั้น โดยคาดว่านัก ท่องเที่ยวต่างชาติจะหายไปราว 1 ล้านคน สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท - KKP Research โดยกลุ่มธุรกิจเกียรตินาคินภัทร วิเคราะห์มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ทั้งการแจกเงิน การอุด หนุนราคาพลังงาน และการพักหนี้ ที่มีต้นทุนสูงที่สุดในประวัติศาสตร์อาจมีความไม่เหมาะสม เนื่องจากเป็นนโยบายแจกเงินแบบเหวี่ยงแห ท่ามกลางข้อจำกัดด้านการคลังและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ความไม่คุ้มค่าในการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น ผลได้ ผลเสียที่มีต่อนโยบายในระยะยาว เพราะการใช้ทรัพยากรทางการคลังที่เน้นผลระยะสั้นและมีต้นทุนสูงจะสร้างข้อจำกัด ความเสี่ยงทางการ คลังและเศรษฐกิจ - ที่ประชุมกกร.เตรียมข้อเสนอทางเศรษฐกิจไปยังรัฐบาลชุดใหม่ และขอให้มีการรื้อฟื้นการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐ และเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.กลาง) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยเสนอให้รัฐบาลจัดประชุมทุก ๆ 3 เดือน เพื่อเป็นเวทีนำเสนอความเห็นและแนวทางการขับเคลื่อนระหว่างรัฐบาลกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด และเร่งดำเนินการแก้กฎหมายที่เป็น อุปสรรคและไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน (Regulatory Guillotine) โดยจัดลำดับความสำคัญเพื่อให้มีผลสัมฤทธิ์ได้อย่างรวด เร็ว - รมว.คลังสหรัฐได้แสดงความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ หลังอัตราเงินเฟ้อกำลังชะลอตัวลงและตลาดแรงงานมี ความแข็งแกร่งมาก - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 2/2566 ขยายตัว 2.1% ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มองว่าตัวเลข GDP ของสหรัฐยังคงสูงกว่าระดับ 1.8% ซึ่งเป็นระดับที่เฟดประเมินว่าจะไม่ก่อให้เกิด เงินเฟ้อ
กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest