ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.27/29 แข็งค่าตามค่าเงินหยวนหลัง GDP จีนดีกว่าคาด จับตาถ้อยแถลงประธานเฟด
InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 36.27/29 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 36.38 บาท/ดอลลาร์ วันนี้เงินบาทค่อนข้างจะ sideway แม้ตัวเลขค้าปลีกของสหรัฐฯ จะออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด แต่ U.S. dollar Index ก็ ยังทรงๆ ไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นตาม นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 3/66 ออกมาที่ 4.9% ดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ จึงทำให้เงินหยวนปรับตัวแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับดอลลาร์ และเงินบาทจึงเคลื่อนไหวในทิศทางแข็งค่าเดียวกับเงินหยวน อย่างไรก็ดี ตลาดรอฟังถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่สมาคมเศรษฐกิจแห่ง นิวยอร์กคืนวันพรุ่งนี้ เพื่อประเมินทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเฟดจะมีการประชุมในปลายเดือนต.ค. นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 36.30 - 36.50 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 149.72/75 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 149.75 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0570 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0565 ดอลลาร์/ยูโร - SET ปิดวันนี้ที่ 1,437.85จุด เพิ่มขึ้น 4.45 จุด (+0.31%) มูลค่าซื้อขาย 52,877.54 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2,734.95 ลบ. - รมว.พาณิชย์ สั่งการให้ติดตามสถานการณ์การส่งออกของไทย หลังจากเกิดสงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส ซึ่งได้ รับรายงานเบื้องต้นว่าการค้าไทยกับอิสราเอล ไม่มีผลกระทบ แต่ขอให้ไปดูว่าจะมีผลกระทบต่อการค้าไทยกับประเทศอื่นๆ หรือไม่ เนื่อง จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลต่อโลก ซึ่งจะได้เตรียมมาตรการรับมือ และแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการส่งออก ของไทยในภาพรวม - ก.ต่างประเทศ แถลงยืนยันคนงานไทยเสียชีวิตจากเหตุการณ์สู้รบในอิสราเอล รวม 30 คน ส่วนยอดผู้บาดเจ็บ 16 คน และผู้ถูกจับเป็นตัวประกันอีก 17 คนไม่เปลี่ยนแปลง โดยขณะนี้มีผู้แจ้งความประสงค์เดินทางกลับไทย รวม 8,160 คน ขณะที่มีคนไทยเดิน ทางกลับประเทศแล้ว 7 เที่ยวบิน รวม 926 คน ยังไม่รวมบางส่วนที่เดินทางกลับเอง - ประธานพรรคไทยภักดี เดินทางไปยื่นคำร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อส่งเรื่องให้ศาลปกครองพิจารณาระงับโครงการแจก เงินดิจิทัล 10,000 บาทของรัฐบาล เพื่อป้องกันความเสียหายของประเทศ พร้อมตั้งข้อสังเกตถึงมาตรการป้องกันการทุจริต และอาจทำให้ เกิดการฟอกเงินครั้งใหญ่ได้ - IMF ปรับลดคาดการณ์ GDP ของไทยในปี 2566 ลงเหลือ 2.7% จากคาดการณ์เดิมที่ 3.4% และได้ปรับลดคาด การณ์ GDP ไทยในปี 2567 ลงสู่ระดับ 3.2% จากระดับ 3.6% ทั้งนี้ ในรายงานล่าสุดของ IMF ระบุว่า ความไม่แน่นอนทาง เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งรวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ เป็นปัจจัยทำ ให้ต้องปรับลดคาดการณ์ GDP ลง - สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เผย GDP ไตรมาส 3/2566 ของจีนขยายตัว 4.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี แข็งแกร่ง กว่าที่โพลนักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะขยายตัว 4.6% ซึ่งทำให้ตลาดคาดหวังว่าจีนจะสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ได้ - เจพีมอร์แกน เชส และโนมูระปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจจีนสำหรับปี 2566 ในวันนี้ (18 ต.ค.) หลัง จีนเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจไตรมาส 3/2566 ที่ขยายตัวแข็งแกร่งกว่าคาดการณ์ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า - ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อของญี่ปุ่นขึ้นสู่ระดับสูงกว่าเป้าหมาย 2% ติดต่อกันเป็นปี ที่ 2 ในการประชุมนโยบายการเงินซึ่งจะมีขึ้นในช่วงปลายเดือนนี้ ซึ่งจะทำให้ความพยายามในการเดินหน้าใช้นโยบายการเงินแบบผ่อน คลายพิเศษ (Ultra-loose Monetary Policy) ของ BOJ เป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น
กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest